บันทึกอนุทิน
รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558
กิจกรรม/การเรียนการสอนในครั้งนี้...
ในการเรียนวันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้พวกเราได้ทำ คือ "กิจกรรมวาดภาพมือของเรา"
โดยกิจกรรมเป็นดังนี้...
1.อาจารย์แจกถุงมือ 1 ข้างและแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น
2.อาจารย์ให้นักศึกษาใส่ถุงมือด้านที่ตนไม่ถนัด พร้อมวาดภาพมือของตนเองด้านที่ไม่ถนัดให้เหมือน
โดยให้นักศึกษานึกถึงลักษณะมือของตนเองตามที่เคยเห็น/สังเกต
3.เมื่อวาดภาพมือของตนเองในด้านที่ไม่ถนัดเสร็จ ให้แต่ละคนถอดถุงมือออกพร้อมสังเกตว่าคล้ายกัน
หรือเหมือนกันหรือไม่
4.ให้นักศึกษาสังเกตมือข้างที่ม่ถนัดอีกครั้ง พร้อมวาดอีกหนึ่งรอบโดยวาดให้เหมือนที่สุด
ผลงานของกระผมที่ออกมาเป็น ดังนี้...
ผลสรุปของกิจกรรมนี้ คือ ไม่ว่าเราจะทำอะไรเราควรเป็นคนที่ช่างสังเกต เพราะ ในอนาคตการที่เรา
เป็นครู การสังเกต ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง และเราควรมีการสังเกตเด็กอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
เราถึงจะทราบว่าเด็กคนนี้มีพัฒนาการเป็นอย่างไร
หากเราสังเกตเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเราอาจไม่ทราบดีว่าเด็กคนนนี้มีพัฒนาการเป็นเช่นไร
เปรียบเทียบกับการวาดภาพ มือของเรา คือ ขนาดมือเป็นสิ่งที่อยู่กับเราตลอดเวลาแต่เรา
ไม่ให้ความสำคัญในการสังเกตเรายังไม่รู้เลยว่ามือของเรามีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง
ดังนั้น เราควรให้ความสำคัญเด็กทุกคนในการสังเกตและทำเป็นประจำ/สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
เนื้อหาในการเรียนครั้งนี้
การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
- ทักษะของครูและทัศนคติ
ทักษะ คือ การหาความรู้เพิ่มเติม เช่น การสัมมนา สื่อต่างๆ เช่น หนังสือ อินเตอร์เน็ต ยูทูบ วิดีโอต่างๆ
ทัศนคติ คือ ต้องมองเด็กพิเศษทุกคนให้เหมือนเด็กปกติทั่วไป ทำให้เด็กเชื่อใจได้ ซื้อใจเด็กให้ได้
- ความพร้อมของเด็ก
1.วุฒิภาวะ
2.แรงจูงใจ (ขึ้นอยุ่กับครูที่จะทำให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้)
3.โอกาส
- การสอนโดยบังเอิญ จะเกิดมากที่สุดในช่วงที่เด็กวิ่งมาหาครู
ควรให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่มก่อน ครูควรสอนในเรื่องที่เด็กอยากรุ้ในระยะเวลาที่พอดี ไม่มากเกินไป
ควรจำเย็น อย่ารำคาญเด็ก ให้ความสนใจเด็กมากที่สุดและทำให้เด็กเกิดความสนุกในการเรียน
- อุปกรณ์หรือสื่อ
สื่อที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด คือ สื่อที่ใช้ได้หลากหลาย หลายแบบ ใช้ได้ง่าย ใช้งานได้เยอะ
และสามารถใช้ได้ทั้งเพศหญิง/เพศชาย
- ตารางประจำวัน
ควรมีลักษณะที่เป็นระบบ หรือ เด็กสามารถคาดคะเนได้ว่าวันนี้ตนเองจะเรียนอะไร เวลาต่อไป
ตนเองจะทำอะไร มีการจัดลำดับขั้นตอนและมีเวลาที่เหมาะสม
-ทัศนคติของครู
1.ความยืดหยุ่น อย่ายึดติดกับแผนการสออนควรมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือจัดให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์ ครูควรนึกถึงเป้าหมายหลัก อย่าคาดหวังเยอะ อย่าสอนอะไรเพิ่มเติมจากจุดประสงค์
2.การใช้สหวิทยาการ คือ มีใจกว้างการรับฟังคำแนะนำของบุคคในอาชีพอื่นๆ สร้างความสัมพันธ์
ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรในห้องเรียน เช่น ใช้การร้องเพลงแฝงการบำบัด
3.การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้ ดีที่สุด คือ การให้แรงเสริม/การเสริมแรง
4.เด็กทุกคนสอนได้ /เด็กเรียนไม่ได้ เพราะ ขาดโอกาส
- เทคนิคการให้แรงเสริม
ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ใหญ่ ยิ่งเสริมแรงเท่าไหร่ เด็กยิ่งทำได้ดี แต่เราควรให้การเสริมแรงแบบพอดี
ไม่ควรให้การเสริมแรงเยอะจนเกินไป และควรให้การเสริมแรงเมื่อมีพฤติกรรมที่เหมาะสม
หากเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ครูควรทำเป็นไม่สนใจ/หยุดชมทันที
- วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมของผู้ใหญ่
การพูด/ชมเชย การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก พยักหน้า ยิ้มรับ การสัมผัสทางกาย เช่น กอด
และการให้ความช่วยเหลือ/ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
- การแนะนำหรือบอกบท (ใช้ได้ดีที่สุดในเด็กพิเศษ)
หมายถึง การย่อยงาน โดยเรียงลำดับความยากง่ายของงาน ซึ่งในการเรียงลำดับงานพร้อมให้แรงเสริม
นั้นจะสามารถทำให้เด็กทำงานได้อย่างสำเร็จ ครูอาจมีการย้อนคำตอบให้เด็กตอบเพื่อเป็นการช่วยเหลือ
เด็กอีกด้วย
- การลดหรือหยุดแรงเสริม
ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทำเป็นไม่สนใจเด็ก เอาของของเล่นหรืออุปกรณ์
ออกไปจากเด็ก เอาเด็กออกจากกิจกรรม หรือ Time out คือ การให้เด็กนั่งออกจากกิจกรรมโดย
ให้เด็กระลึกว่าตนเองทำสิ่งใดผิด
- ความคงเส้นคงวา
ครูควรมีความคงที่ตลอดปี/มีความกระตือรือร้นตลอดภาคเรียน พยายามตื่นตัวตลอดเวลา