วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 29 เมษายน 2558

กิจกรรมการเรียนการสอนในครั้งนี้

             โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)  

           แผน IEP

-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น

-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา

-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก

-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

           การเขียนแผน IEP

คัดแยกเด็กพิเศษ  ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้อง

เริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้

แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

          IEP ประกอบด้วย

-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก

-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง

-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน

-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น

-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน

-วิธีการประเมินผล

        ประโยชน์ต่อเด็ก

-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน

-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน

-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

         ประโยชน์ต่อครู

-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก

-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก

-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป

-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก

-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

        ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุด

ตามศักยภาพ

-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร

-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้าน

กับโรงเรียน

        ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล

2. การจัดทำแผน

3. การใช้แผน

4. การประเมินผล

     เมื่ออาจารย์ได้สอนเนื้อหาต่างๆเสร็จอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มละ 4-5 คน เขียนแผน IEP พร้อมสอบ

ร้องเพลงโดยการจับฉลาก ซึ่งผมได้เพลง " ดอกมะลิ " มีเนื้อเพลง ดังนี้

                                           ดอกมะลิกลีบขาวพราวตา  เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย 

                                          บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้ ใส่ในน้ำอบขนมหอมชื่นใจ


   เมื่อร้องเพลงเสร็จเรียบร้อยอาจารย์ก็ได้สรุปสิ่งที่ได้สอนตอลดทั้งเทอม พร้อมพูดถึงความรู้สึก

ที่ได้สอนตลอดหนึ่งเทอม พวกเรามีความสุข ดีใจและรู้สึกอบอุ่นมากๆที่อาจารย์ได้ให้ความรู้ ความรัก 

การดูแล เอาใจใส่ พวกเราเป็นอย่างดี  พวกเราขอขอบคุณอาจารย์เบียร์มากๆเลยนะครับ อาจารย์เป็น

อาจารย์ที่น่ารักและเข้าใจนักศึกษาเป็นอย่างมาก ถ้ามีโอกาสยังไงขอให้ได้เรียนกับอาจารย์เบียร์

อีกนะครับ ดีใจที่ได้เจออาจารย์และขอขอบคุณกับทุกๆอย่างที่ได้ให้กับพวกเราทุกคนมากๆเลยนะครับ

                                                       " พวกเรารักอาจารย์เบียร์นะครับ "





วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน

รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 20 เมษายน 2558

กิจกรรมการเรียนการสอนในครั้งนี้


" การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางการเรียนของเด็กพิเศษ "

   - เป้าหมาย

     1.ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้

     2.เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

    3. เด็กรู้สึกว่าตนเองทำได้ มั่นใจในตนเอง

    4.พัฒนาให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นมากขึ้น

    5.เพื่อให้เด็กอยากสำรวจ ทดลอง อยากรู้อยากเห็น


- ช่วงความสนใจ

   เด็กทั่วไปจะมีช่วงความสนใจประมาณ 10 - 15 นาที

   เด็กพิเศษไม่เกิน 5 นาที (สมาธิสั้นบางคนไม่ถึง 1 นาที)


- การเลียนแบบ

   การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ

   การรับรู้ การเคลื่อนไหว จากการได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น


-การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

  การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก ศิลปะ มุมต่างๆ


- ความจำ

   จากการสนทนาหรือพูดคุยเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับเด็ก รวมถึงกิจกรรมในแต่ละวันของเด็ก


- การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

   จัดกลุ่มเด็ก เริ่มต้นเรียนรู้ช่วงเวลาสั้นๆ ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรที่ไหนบ้าง

   ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง ควรพูดในทางที่ดีหรือใช้แรงเสริม

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน

รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 30 มีนาคม 2558

กิจกรรมการเรียนการสอนในครั้งนี้

" ในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน "

 เนื่องจากมีการเรียนการเขียนแผนรายวิชาการจัดประสบการศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย


ตัวอย่างขั้นตอนการวางแผนก่อนการเขียนแผนสอนศิลปะฯ



ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 23 มีนาคม 2558

กิจกรรมการเรียนการสอนในครั้งนี้

ในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์มีการสอบเก็บคะแนน


วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 16 มีนาคม 2558


กิจกรรมการเรียนการสอนในครั้งนี้...


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

" ทักษะการช่วยเหลือตนเอง "

    เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด พยายามส่งเสริมให้เด็กพึ่งพาตนเองหรือทำอะไรด้วยตนเอง

   - การสร้างความอิสระ  คือ ควรให้เด็กช่วยเหลือตนเอง เด็กจะเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน

หรือผู้อื่น

  - การสำเร็จถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เช่น การทำได้ด้วยตนเอง  ความเชื่อมั่นในตนเอง การเรียนรู้

ความรู้สึกที่ดี

  - หัดให้เด็กทำเอง  ครูควรใจแข็งอย่างมาก หากเด็กมาขอให้ช่วยเหลืออะไรครูควรช่วยเหลือในเรืองนั้น

เพีงเรื่องเดียว

- ควรช่วยเหลือเมื่อไหร่  หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว เด็กรู้สึกว่ายังมี

ผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ ดังนั้น ครูควรทำให้เด็กเกิดความไว้วางใจและทำให้เด็กสามารถเชื่อได้ว่าเราช่วยเหลือได้

- ลำดับขั้นในการช่วยเหลือ  แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อย หรือเรียกว่า การย่อยงาน

โดยเรียงลำดับตามขั้นตอน


  ตัวอย่างการย่อยงาน   " การเข้าส้วม "

เข้าไปในห้องส้วม  ดึงกางเกงลงมา  ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม  ปัสสาวะหรืออุจจาระ  ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น

ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า กดชักโครกหรือตักน้ำราด ดึงกางเกงขึ้น ล้างมือ เช็ดมือ เดินออกจากห้องส้วม


สรุป

1. ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง

2. ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ

3. ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล

4. ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง

5. เด็กพึ่งตนเอได้ รู้สึกเป็นอิสระ


กิจกรรมหลังการเรียนในครั้งนี้

ชื่อกิจกรรม ต้นไม้หลากสี

  วิธีการจัดกิจกรรม

1.ให้กระดาษเด็กคนละ 1 แผ่น

2.ให้เด็กใช้สีวาดวงกลมตรงกลาง จากนั้นใช้สีอื่นๆวาดวงกลมไปเรื่อยๆตามความพึงพอใจของตนเอง

3.เมื่อวาดเสร็จ ให้เด็กตัดกระดาษออกตามรูปวงกลม

4.เมื่อตัดกระดาษเสร็จให้เด็กแต่ละคนนำวงกลมของตนเองไปติดบนต้นไม้

5.ครูสรุปกิจกรรม




กิจกรรมนี้ เป็นการสะท้อนและบอกความเป็นตัวเองของตัวเองโดยการใช้สีและการระบายสี 

ถือว่าเป็นการบอกตัวตนของเด็กคนนั้นได้ว่าเด็กมีลักษณะอย่างไร...

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 9 มีนาคม 2558


กิจกรรมการเรียนการสอนในครั้งนี้

      ในวันนี้อาจารย์สอนในหัวข้อ "การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"
      - ทักษะทางภาษา


      - การวัดความสามารถทางภาษา

1. เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดหรือไม่่

2.การตอบสนองเมื่อมีคนพูด

3.บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้

4.ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่น


   - การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด

1.การพูดตกหล่น

2.การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง (เสียงขึ้นจมูก)

3.การพูดติดอ่าง 


- การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

1.ไม่สนใจการพูดซ้ำ ออกเสียงไม่ชัด

2.ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆ/ตามสบาย/คิดก่อนพูด

3.อย่าขัดจังหวะเด็กขณะพูด

4.อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างถนัดของเด็ก

5.ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น

6.เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน


-  ทักษะพื้นฐานทางภาษา

1.ทักษะการรับรู้ภาษา

2.การแสดงออกทางภาษา

3.การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด


-  ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

1.การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา

2.ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด

3.ให้เวลาเด็กได้พูด

4.คอยให้เด็กตอบ

5.เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว

6.เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังอย่างเดียว

7.ให้เด็กทำกิจกรรมกลลุ่ม

8.กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง

9.เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด

10.ใช้คำถามปลายเปิด



กิจกรรมหลังการเรียนการสอน

ลากเส้นตรงต่อเติมสี




กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการบำบัดเด็กพิเศษโดยใช้กิจกรรมศิลปะในการลากสีเป็นเส้นตรง

เมื่อลากเส้นเสร็จเรียบร้อย ลำดับต่อไปให้ระบายสีลงในช่องที่ว่างจนครบทุกช่อง

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 2 มีนาคม 2558


กิจกรรมการเรียน/การสอนในครั้งนี้

       กิจกรรมก่อนการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้พวกเราทำกิจกรรม รถไฟเหาะแห่งชีวิต ซึ่งเป็น

กิจกรรมทดสอบทางจิตวิทยา เมื่อเฉลยคำตอบถือว่าบางคำตอบก็ตรงบางคำตอบก็ตลก ถือว่า

กิจกรรมในครั้งนี้มีความสนุกและได้ความรู้ควบคู่กันเลยครับ


      หัวข้อที่เรียนในครั้งนี้ " การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ " 

ทักษะทางสังคม

   - กิจกรรมการเล่น  การเล่นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้อย่างยิ่ง ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มอง

เด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่จะมองเป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส


  - ยุทธศาสตร์การสอน  ครูควรเริ่มต้นด้วยการสังเกตแต่ละคนอย่างเป็นระบบ เมื่อสังเกต ควรจดบันทึก

ทำแผน IEP

  - การกระตุ้นเลียนแบบและการเอาอย่าง  วางแผนให้ทำกิจกรรมหลายๆอย่าง แบ่งเด็กให้เล่นเป็นกลุ่ม

เช่น กลุ่มละ 4 คน แบ่งเป็น 3 : 1 เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนกับครู

- ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น อยู่ใกล้ๆเฝ้ามองอย่างสนใจ เพิ่มอุปกรณ์เพื่อยืดเวลาการเล่น

ห้ามหันหลังให้เด็กดดยเด็ดขาด

- การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน 

- เด็กพิเศษหลายๆอาการสามารถใช้วิธีการจับมือในการช่วยน้องได้

- ในการเล่นทกครั้งครูควรสร้างกฎเกณฑ์เสมอ

- ปรัชญาการเรียนรวม คือ ความเท่าเทียมกัน


เมื่ออาจารย์สอนเนื้อหาเสร็จ ก็ได้ให้ทำกิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษ

คือ กิจกรรม ลากเส้นต่อจุด

โดยผลงานที่กลุ่มกระผมทำออกมาเป็นดังนี้...

ชื่อผลงาน เชลดอนสายพันธ์ุใหม่


วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558


ในวันนี้พวกเรานัดกันมาตอน 11 โมงเพื่อเตรียมตัวทำเซอร์ไพรส์วันเกิดให้อาจารย์เบียร์

ทุกคนตื่นเต้นกันมากเลย เมื่อเวลาใกล้มาถึง พถึงช่วงอาจารย์เข้ามาถึงห้องพวกเราก็ร้องเพลง

ด้วยความรักและผูกพันธ์ อาจารย์น่ารักมากๆเลยครับ พวกเราดีใจมากที่ได้ทำให้อาจารย์

จนบางทีเกือบร้องงไห้เลยย...อาจารย์เบียร์เป็นอาจารย์ที่น่ารัก นิสัยดี และเข้าใจเด็กๆทุกคน

พวกเรารักอาจารย์มากๆเลยนะครับ อาจารย์คอยช่วยเหลือพวกเราและดูแลพวกเราตลอดเลย

พวกเราขอขอบพระคุณอาจารย์มากๆเลยนะครับที่อาจารย์ยอมทำทุกอย่างเพื่อพวกเรา

พวกเราทุกคน รัก อาจารย์เบียร์นะครับ ^^



วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


วันที่ 9  กุมภาพันธ์  2558


   กิจกรรม/การเรียนการสอนในครั้งนี้...


   ในการเรียนวันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้พวกเราได้ทำ คือ "กิจกรรมวาดภาพมือของเรา" 

โดยกิจกรรมเป็นดังนี้...


1.อาจารย์แจกถุงมือ 1 ข้างและแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น

2.อาจารย์ให้นักศึกษาใส่ถุงมือด้านที่ตนไม่ถนัด พร้อมวาดภาพมือของตนเองด้านที่ไม่ถนัดให้เหมือน

   โดยให้นักศึกษานึกถึงลักษณะมือของตนเองตามที่เคยเห็น/สังเกต

3.เมื่อวาดภาพมือของตนเองในด้านที่ไม่ถนัดเสร็จ ให้แต่ละคนถอดถุงมือออกพร้อมสังเกตว่าคล้ายกัน
   
   หรือเหมือนกันหรือไม่

4.ให้นักศึกษาสังเกตมือข้างที่ม่ถนัดอีกครั้ง พร้อมวาดอีกหนึ่งรอบโดยวาดให้เหมือนที่สุด

   
ผลงานของกระผมที่ออกมาเป็น ดังนี้...




ผลสรุปของกิจกรรมนี้ คือ ไม่ว่าเราจะทำอะไรเราควรเป็นคนที่ช่างสังเกต เพราะ ในอนาคตการที่เรา

เป็นครู การสังเกต ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง และเราควรมีการสังเกตเด็กอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

เราถึงจะทราบว่าเด็กคนนี้มีพัฒนาการเป็นอย่างไร 

หากเราสังเกตเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเราอาจไม่ทราบดีว่าเด็กคนนนี้มีพัฒนาการเป็นเช่นไร

เปรียบเทียบกับการวาดภาพ มือของเรา คือ ขนาดมือเป็นสิ่งที่อยู่กับเราตลอดเวลาแต่เรา

ไม่ให้ความสำคัญในการสังเกตเรายังไม่รู้เลยว่ามือของเรามีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง

ดังนั้น เราควรให้ความสำคัญเด็กทุกคนในการสังเกตและทำเป็นประจำ/สม่ำเสมอและต่อเนื่อง


  เนื้อหาในการเรียนครั้งนี้

  การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

-  ทักษะของครูและทัศนคติ

   ทักษะ คือ การหาความรู้เพิ่มเติม เช่น การสัมมนา สื่อต่างๆ เช่น หนังสือ อินเตอร์เน็ต ยูทูบ วิดีโอต่างๆ

   ทัศนคติ  คือ  ต้องมองเด็กพิเศษทุกคนให้เหมือนเด็กปกติทั่วไป ทำให้เด็กเชื่อใจได้ ซื้อใจเด็กให้ได้

-  ความพร้อมของเด็ก

1.วุฒิภาวะ

2.แรงจูงใจ (ขึ้นอยุ่กับครูที่จะทำให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้)

3.โอกาส


- การสอนโดยบังเอิญ  จะเกิดมากที่สุดในช่วงที่เด็กวิ่งมาหาครู

   ควรให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่มก่อน ครูควรสอนในเรื่องที่เด็กอยากรุ้ในระยะเวลาที่พอดี ไม่มากเกินไป

ควรจำเย็น อย่ารำคาญเด็ก ให้ความสนใจเด็กมากที่สุดและทำให้เด็กเกิดความสนุกในการเรียน


- อุปกรณ์หรือสื่อ

   สื่อที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด คือ สื่อที่ใช้ได้หลากหลาย หลายแบบ ใช้ได้ง่าย ใช้งานได้เยอะ

และสามารถใช้ได้ทั้งเพศหญิง/เพศชาย


- ตารางประจำวัน

   ควรมีลักษณะที่เป็นระบบ หรือ เด็กสามารถคาดคะเนได้ว่าวันนี้ตนเองจะเรียนอะไร เวลาต่อไป

ตนเองจะทำอะไร มีการจัดลำดับขั้นตอนและมีเวลาที่เหมาะสม


-ทัศนคติของครู

  1.ความยืดหยุ่น  อย่ายึดติดกับแผนการสออนควรมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือจัดให้เหมาะสมกับ

สถานการณ์  ครูควรนึกถึงเป้าหมายหลัก อย่าคาดหวังเยอะ อย่าสอนอะไรเพิ่มเติมจากจุดประสงค์

  2.การใช้สหวิทยาการ  คือ มีใจกว้างการรับฟังคำแนะนำของบุคคในอาชีพอื่นๆ สร้างความสัมพันธ์

ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรในห้องเรียน เช่น ใช้การร้องเพลงแฝงการบำบัด

 3.การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้  ดีที่สุด คือ การให้แรงเสริม/การเสริมแรง

 4.เด็กทุกคนสอนได้ /เด็กเรียนไม่ได้ เพราะ ขาดโอกาส


- เทคนิคการให้แรงเสริม

  ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ใหญ่ ยิ่งเสริมแรงเท่าไหร่ เด็กยิ่งทำได้ดี แต่เราควรให้การเสริมแรงแบบพอดี

ไม่ควรให้การเสริมแรงเยอะจนเกินไป และควรให้การเสริมแรงเมื่อมีพฤติกรรมที่เหมาะสม 

หากเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ครูควรทำเป็นไม่สนใจ/หยุดชมทันที


- วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมของผู้ใหญ่

   การพูด/ชมเชย  การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก  พยักหน้า ยิ้มรับ การสัมผัสทางกาย เช่น กอด 

และการให้ความช่วยเหลือ/ร่วมกิจกรรมกับเด็ก


- การแนะนำหรือบอกบท (ใช้ได้ดีที่สุดในเด็กพิเศษ)

  หมายถึง การย่อยงาน โดยเรียงลำดับความยากง่ายของงาน ซึ่งในการเรียงลำดับงานพร้อมให้แรงเสริม

นั้นจะสามารถทำให้เด็กทำงานได้อย่างสำเร็จ ครูอาจมีการย้อนคำตอบให้เด็กตอบเพื่อเป็นการช่วยเหลือ

เด็กอีกด้วย


- การลดหรือหยุดแรงเสริม

  ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทำเป็นไม่สนใจเด็ก เอาของของเล่นหรืออุปกรณ์

ออกไปจากเด็ก  เอาเด็กออกจากกิจกรรม หรือ Time out   คือ การให้เด็กนั่งออกจากกิจกรรมโดย

ให้เด็กระลึกว่าตนเองทำสิ่งใดผิด


- ความคงเส้นคงวา

   ครูควรมีความคงที่ตลอดปี/มีความกระตือรือร้นตลอดภาคเรียน พยายามตื่นตัวตลอดเวลา

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน


รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


วันที่ 26 มกราคม 2558


        
      กิจกรรมและการเรียนครั้งนี้ อาจารย์ได้ให้วาดภาพดอกบัวตามรูปภาพตัวอย่าง เมื่อวาดเสร็จก็ให้

เขียนบรรยายสิ่งที่เห็นจากดอกบัว ซึ่งรูปภาพดอกบัวของกระผมที่ได้วาดออกมาเป็นดังนี้




ซึ่งบรรยายภาพดอกบัวจากที่เห็นผมสามารถบรรยายได้ดังนี้....


"ดอกบัวดอกนี้บานสะพรั่ง สีรอบนอกของกลีบอาจดูเข้มหรือมืดแต่ถ้าเรามองข้างในจะพบความสว่าง

ของสีกลีบ ซึ่งเปรียบเสมือนทุกสิ่งบนโลก คือ เราไม่ควรมองสิ่งๆหนึ่งแค่ภายนอก แต่เราควร

ควรมองทั้งภายนอกและภายใน เราจึงจะค้นพบความแท้จริงและความสวยงาม"




                             เข้าสู่การเรียนในหวัข้อ "บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม"


     ครูไม่ควรวินิจฉัย...

                คือ การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณ พฤติกรรมบางอย่าง อาจทำให้เข้าใจผิดได้


     ครูไม่ควรตั้งฉายาหรือระบุประเภทเด็ก...


                การตั้งฉายา/ชื่อ เปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป หรือ เด็กอาจกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

   
      ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ


               ควรพูดในสิ่งที่เด็กทำได้ พูดในสิ่งที่เป็นด้านบวก ควรพูดให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็น-

              แนวทางที่จะช่วยให้เด็กได้พัฒนา

   
       ครูทำหน้าที่อะไรบ้าง????

               -ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการรอบด้าน

               -ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรหรือผู้เลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสม

              - สังเกตเด็กอย่างป็นระบบ

              - จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นบางช่วง

       
       การบันทึกการสังเกต


              - การนับอย่างง่ายๆ คือ นับจำนวนครั้งของการกิดพฤติกรรม (กี่ครั้งในแต่ละวัน/ชั่วโมง ระยะ

เวลาในการเกิดพติกรรม)


              - การบันทึกต่อเนื่อง คือ บันทึกให้รายละเอียดเยอะที่สุด เขียนพฤติกรรมทุกอย่างที่เด็กทำ

โดยไม่ต้องเขาไปแนะนำช่วยเหลือ


              - การบันทึกไม่ต่อเนื่อง  คือ บันทึกลงบัตรเล็กๆบันทึกแบบสั้นๆ หรือบันทึกช่วงการทำ

กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง (ต้องการความฉับไว)


        
            กิจกรรมสุดท้ายสำหรับการเรียนครั้งนี้ คือ ฝึกร้องเพลง 5 เพลง โดยมีเพลงดังต่อไปนี้...




ช่วงฝึกร้องพลงถือว่าสนุกมากๆเลยครับ อาจารย์ให้ความช่วยเหลือพวกเราโดยให้ฝึกร้องบ่อยๆเพื่อจะได้

นำไปใช้ในอนาคตและถือว่า เพลงเหล่านี้ เนื้อหาดี ไพเราะ เหมาะกับการนำไปสอนเด็กอย่างมากครับผม

พวกเราจะฝึกร้องกันบ่อยๆนะครับ ขอบคุณอาจารย์มากๆเลยนะครับ...




ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน


รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


วันที่ 19 มกราคม 2558


       การเรียนการสอนในครั้งนี้ อาจารย์ได้สอนเรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาสำหรับ

เด็กที่มีความต้องการพิเศษและการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งสามารถ สรุปเป็นความรู้ได้ดังนี้

      รูปแบบการจัดการศึกษา อาจแบ่งได้ดังต่อไปนี้

1.การศึกษาแบบปกติทั่วไป

2.การศึกษาพิเศษ

3.การศึกษาแบบรียนร่วม

4.การศึกษาแบบเรียนรวม


     การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือ เด็กพิเศษทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้และ

พัฒนาได้ เพียงแต่เด็กเหล่านี้ตองได้รับโอกาสและการดูแลที่ดีรวมถึงการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม


   การศึกษาแบบเรียนร่วม....


        คือ    การจัดการศึกษาให้เด็กพิเศษเข้าระบบการศึกษาทั่วไป โดยใช้ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

ซึ่งเด็กพิเศษจะอยู่ในการควบคุมและดูแลของหน่วยงานการศึกษาพิเศษ โดยหน่วยงานจะประสาน

กับโรงเรียนให้เด็กมาเรียนร่วม


การศึกษาแบบเรียนร่วม แบ่งอกเป็น 2 แบบ คือ

1.เรียนร่วมบางเวลา (กลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก)

2.เรียนร่วมเต็มเวลา (เรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลา มีการจัดกระบวนการเรียนรุ้เหมือนเด็กปกติ)



  การศึกษาแบบเรียนรวม...


        คือ  การศึกษาสำหรับทุกคน จัดให้มีการบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล หมายถึง

เด็กทุกคนสามารถเข้าโรงเรียนตั้งแต่แรกโดยเลือกโรงเรียนตามที่ตนอยากเรียนหรือผู้ปกครองอยากให้

เรียน (การศึกษาแบบเรียนรวมเด็กไม่มีสังกัดใดๆของการศึกษาพิเศษ)

   

 นิยาม "การศึกษาแบบเรียนรวม" ทางสากลหรือทั่วโลก


      "Inclusive Education is Education for all,it involves people at the beginning of their education,

with provision of additional services needed by each individual"



   ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


1.ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้

2.สอนได้และสอนง่าย

3.เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกักน้อยที่สุด

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 12 มกราคม 2558

         
      ในการเรียนครั้งนี้ อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการ

พิเศษ เป็นรายวิชาที่ได้เรียนในภาคเรียนที่ 1/2557 อาจารย์ได้เฉลยพร้อมอธิบายเกี่ยวกับข้อสอบ

พร้อมเชื่อมโยงเข้าสู่รายวิชานี้ ซึ่งถือว่า ดีมากๆเลยครับ เพราะ ทำให้เรารู้ว่าสื่งที่เราตอบไปถูกต้อง

หรือไม่และยังเป็นแนวทางที่ทำให้เรานำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเป็นแนวทางที่ดีอีกด้วยครับ


      เมื่อเฉลยข้อสอบเสร็จอาจารย์ก็ให้ทุกคนทำข้อสอบ Pretest เพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับการเรียน

การอบรมเลี้ยงเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ และทดสอบความรู้เกี่ยวกับ รายวิชาการจัด

ประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยด้วยครับ


     ลำดับต่อมาอาจารย์ได้สอนร้องเพลงเด็กปฐมวัยโดยมีเพลง ดังต่อไปนี้...






       ซึ่งการร้องเพลงครั้งนี้ ถือว่าพวกเราทำออกมาค่อนข้างดี อาจมีเสียงหลงไปบ้างแต่อาจารย์

ก็ให้กำลังใจในการร้องเพลง โดยให้ฝึกเรื่อยๆ เพราะ เพลงเหล่านี้เราสามารถใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย

ได้ง่ายทำให้เด็กสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้ ซึ่งเด็กจะมีความสนใจในเพลงเหล่านี้อย่างมาก


 การประเมิน

        ตนเอง : ในการเรียนครั้งนี้ตนเองให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ อาจมีเล่นหรือชวนเพื่อนคุยบ้าง

ในการทำข้อสอบ Pretest ถือว่าตนเองไม่ค่อยมั่นใจเท่าไหร่ ยอมรับเลยครับว่าไม่ได้ทบทวนมาก่อนเลย

แต่ก็ถือว่าตนเองทำดีที่สุดแล้ว โดยรวมในการเรียนครั้งนี้ ค่อนข้างดีครับ


        เพื่อน : มีความสนใจในการเรียนค่อนข้างดี ส่วนใหญ่อาจคุยหรือเล่นกัน แต่ขณะร้องเพลง ถือว่า

ทุกคนสนใจและทำกันอย่างเต็มที่มากๆ โดยรวมถือว่า  ดีครับ

      
        อาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายข้อสอบในรายวิชาที่ผ่านมาทำให้เราเข้าใจว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด

สามารถนำไปสอนหรือใช้กับเด็กได้อย่างถูกต้อง การสอนในครั้งนี้ ถือว่า สนุกและได้ความรู้มากเลยครับ

ชอบเวลาที่อาจารย์สอนร้องเพลง เพราะ ทำให้พวกเรามีเพลงไปสอนเด็กมากขึ้นและร้องเพลงได้ถูกคีย์

อาจารย์น่ารัก ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ  โดยรวม ประทับใจมากๆครับผม^^